คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8
1. ให้ผูเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบวัตถุประสงค์ของการนำเสนองานคือ การนำเสนองาน (Presentation) เป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานทุกๆระดับในองค์กร เช่น พนักงานขายในบริษัทบางแห่ง ต้องใช้ทักษะการนำเสนองานอยู่เสมอในระหว่างขั้นตอนการขาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานเพื่อแนะนำองค์กร เพื่อนำเสนอคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการ รวมไปถึงการสาธิตวิธีการใช้งาน นอกจากนั้น การนำเสนองานยังนำมาใช้ภายในองค์กร เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือ ขอความร่วมมือในโครงการต่างๆ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1) การดึงดูดความสนใจ
โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "A picture is worth a thousand words" หรือ "ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ" แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจเลือกได้ตามความต้องการว่าเป็นเครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น
4 ) การใช้งานโปรแกรม
ในการใช้งานนั้น นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความสามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชั่นที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ผู้ใช้ต้องทดลองเอง จึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งานในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ตอบ การบรรยาย (Lecture) หมายถึง วิธีที่วิทยากรเป็นผู้พูด บอกเล่าหรืออธิบายเนื้อหาแก่ผู้เรียน วิทยากรเป็นผู้เตรียมการค้นคว้าในเรื่องที่จะสอนมาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นผู้รับการถ่ายทอด โดยการจดบันทึกหรือท่องจำ การสอนโดยการบรรยายตามความหมายดั้งเดิม หมายถึง วิทยากรเป็นผู้พูดตลอด ผู้เรียนมิได้มีส่วนร่วม ต่อมาได้มีการประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบอื่นๆ เข้ามาร่วม เพื่อให้การบรรยายน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การถาม –ตอบ การแสดงบทบาท การใช้สื่อการสอน การทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ฯลฯ
วิธีการบรรยายนี้จัดว่ามีข้อดี คือ สามารถสอนได้จำนวนมาก โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน สามารถปลูกฝังแนวความคิดและเจตคติที่พึงปรารถนาได้ แต่ข้อเสียที่เกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น วิทยากรไม่ทราบผลว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ ผู้เรียนไม่มีโอกาสแสดงออก อาจเบื่อหน่ายง่าย และเป็นการยากที่จะทำให้ผู้เรียนสนใจ ติดตามวิธีการสอนแบบนี้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการสอนแบบบรรยาย เป็นวิธีการสอนที่คนทั่วไปนิยมมากวิธีหนึ่ง หากผู้เป็นวิทยากรมีความสามารถในการบรรยาย รู้จักปรับปรุงวิธีการบรรยายให้น่าสนใจ ผลที่เกิดขึ้นจะพบว่า วิธีการสอนแบบบรรยายก่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นอย่างมากในตัวผู้เรียน
การพากย์ (อังกฤษ: dubbing) เป็นกระบวนการหลังการผลิตว่าด้วยการบันทึกและแทนเสียงลงในภาพยนตร์หรือวัสดุโทรทัศน์ภายหลังจากที่มีการสร้างสรรค์ส่วนดั้งเดิมขึ้นแล้ว ปรกติมักหมายถึงการแทนเสียงของนักแสดงที่ปรากฏอยู่ในวัสดุนั้นแล้วด้วยเสียงของนักแสดงคนอื่นซึ่งอาจพูดคนละภาษากัน กระบวนการทำนองเดียวกันนี้บางครั้งยังใช้ในละครเวทีเมื่อปรากฏว่านักแสดงร้องเพลงได้ไม่เป็นที่น่าพอใจหรือพูดคนละภาษากับผู้ชม ตลอดจนการบันทึกเสียงใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงเดิมหรือเปลี่ยนแปลงบทสนทนาเป็นต้น
ตอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
วิธีนำเสนอผลงานด้วย Excel
ตั้งแต่โปรแกรม Office มีเครื่องไม้เครื่องมือช่วยเสริมสวยที่ดีขึ้นและใช้งานง่ายมากขึ้น จะเห็นว่าเราใช้เวลามากขึ้นในการสร้างงาน แม้จะสร้างสูตรสร้างตารางคำนวณเสร็จแล้ว ก็ยังต้องเสียเวลาอีกนานเพื่อประดิษฐ์ประดอยตกแต่งหน้าตาผลงานให้ดูดีอีกด้วย แถมยังกลายเป็นคุณสมบัติหนึ่งของพนักงานแต่ละคนไปแล้วว่า ต้องมีหัวศิลป์ ผู้ที่สามารถแต่งตารางให้ดูสวยหรู และสามารถนำเสนอผลงานทั้งบนกระดาษและหน้าจอได้ดีกว่า มักจะได้รับคำชมมากกว่าคนอื่น พอปลายปีก็จะได้รับประเมินผลขึ้นเงินเดือนเป็นพิเศษอีกด้วย
การนำเสนอผลงานที่ดี ต้องทำให้สวยอย่างมีคุณค่า ไม่ใช่่้สวยแต่รูป จูบไม่หอมอะไรทำนองนั้น เพราะยังมีสิ่งซึ่งสำคัญกว่าความสวยงามอีกมาก กล่าวคือ
- การนำเสนอผลงานต้องมีความยืดหยุ่น จะเรียกดูข้อมูลเรื่องใด ต้องสามารถดึงข้อมูลมานำเสนอได้ทันที ครั้นจะนำข้อมูลต่างช่วงเวลามาเปรียบเทียบ ต้องทำได้ง่ายเช่นกัน
- แบบตัวอักษร สีของตัวอักษร สีของพื้นเซลล์ และกรอบตาราง ต้องมีมาตรฐาน ไม่ใช้มากหรือน้อยเกินไป
- ใช้สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่งเซลล์ซึ่งมีความสำคัญ และใช้สีหรือรูปแบบเน้นให้เห็นแตกต่างจากส่วนอื่น ช่วยชี้ประเด็นให้เห็นในทันที
- หากมีเงื่อนไขการคำนวณแตกต่างไปจากเดิม เราสามารถนำงานเก่าซึ่งสร้างไว้แล้วกลับมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องสร้างใหม่ หรือใช้เวลาแก้ไขเพียงเล็กน้อย
- พยายามใช้กราฟนำเสนอข้อมูลให้บ่อยครั้งที่สุด และผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนค่าซึ่งนำมาสร้างกราฟได้ทันที
- เมื่อสร้างงานเสร็จแล้วต้องปรับภาพซึ่งแสดงบนจอ ให้แสดงเฉพาะส่วนที่จำเป็นและง่ายต่อการใช้งานเท่านั้น
- ผลงานซึ่งพิมพ์ออกมาต้องจัดเรียงหน้า ดูสวยงาม และประหยัดกระดาษ ประหยัดหมึกพิมพ์
FORMAT STYLE คือ อนาคต
คนที่เคยประสบปัญหาต้องกลับไปเปิดแฟ้มนับสิบนับร้อยแฟ้มกลับมาแก้ไข เพื่อจัดรูปแบบหน้าตาให้ใช้ตัวอักษรแบบเดียวกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ใช้สีเดียวกัน เพื่อปรับให้ทุกแฟ้มมีมาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด จะหมดปัญหาทันทีเมื่อใช้คำสั่งFormat > Style
- Style เป็นรูปแบบเฉพาะแต่ละแฟ้ม โดยแต่ละแฟ้มจะใช้ Style พื้นฐานขื่อ Normal เหมือนกัน แต่เราสามารถกำหนดให้ Normal มีรายละเอียดของรูปแบบแต่งต่างกันไป
- Modify ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนรูปแบบของ Style Name ซึ่งเลือกไว้ ปกติให้เลือก Normal แล้วกดปุ่ม Modify ได้เลย
- Add/Delete ใช้สำหรับเก็บหรือลบบันทึก Style ชื่อใหม่ที่เราตั้งขึ้น
- Merge ใช้สำหรับเรียกใช้ Style จากแฟ้มอื่นที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น
ปัจจุบันนี้บนระบบอินเตอร์เน็ตเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานของข้อมูลแต่ละหน้าให้ใช้รูปแบบเดียวกันมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือชื่อว่า Cascading Style Sheet ซึ่งมีหลักทำงานคล้ายกับ Format Style ของ Excel นี่เอง หากสักวันหนึ่งคุณจะนำแฟ้มข้อมูลไปนำเสนอ หรืออวดให้สาธารณชนเห็น อย่าลืมใช้ Format Style กันไว้ก่อน หาทางทำให้การนำเสนอผลงานแต่ละตารางใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
MANAGEMENT BY EXCEPTION
Management by Exception เป็นระบบการบริหารซึ่งกำหนดให้ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานเรื่องซึ่งผิดไปจากแผนงานที่วางไว้ หรือเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา ซึ่งต้องการให้พิจารณาตัดสินใจในทันที ช่วยประหยัดเวลาของผู้บริหารไม่ต้องค้นหาข้อมูลที่ผิดปกติเหล่านั้น แล้วลองหันกลับมาดูวิธีใช้ Excel กันบ้างว่า ในตาราง Sheet หนึ่งของ Excel มีเซลล์กว่า 16 ล้านเซลล์ ถ้าเรานำเสนอตารางใหญ่มากๆให้หัวหน้าดู หัวหน้าจะต้องเสียเวลาค้นหาข้อมูลที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษกันนานแค่ไหน
เครื่องมือของ Excel ซึ่งสนับสนุน Management by Exception มีดังนี้
- ใช้สูตรกลุ่ม Lookup เช่น Vlookup, Match, Index, Indirect, Offset ดึงข้อมูลซึ่งผิดปกติมาแสดง และใช้สูตร CountIf นับจำนวนเซลล์ที่ผิดปกติ
- ใช้คำสั่ง Format > Conditional Formatting เปลี่ยนสีเซลล์ซึ่งมีค่าต่างจากมาตรฐาน
- ดับเบิลคลิกเซลล์สูตรเพื่อย้ายตำแหน่งเซลล์ไปยังเซลล์ต้นทาง ทั้งนี้ต้องสั่ง Tools > Options > Edit > ตัดกาช่อง Edit directly in cell ออกก่อน หากต้องการย้อนกลับมาที่เซลล์เดิม หลังจากกดดับเบิลคลิกออกไปแล้ว ให้กดปุ่ม F5 แล้วกด Enter
- หากต้องการปรับค่าในตารางทั้งหมดพร้อมกัน ให้กลายเป็นค่าความแตกต่างจากค่ามาตรฐาน ให้ใช้ Copy ค่ามาตรฐานจากเซลล์ใดก็ได้ ไปเลือกพื้นที่ตารางซึ่งต้องการปรับค่า แล้วสั่ง Paste Special แบบ Subtract ทั้งนี้ให้ใช้วิธีนี้กับตารางที่มีแต่ค่าตัวเลขเท่านั้น ไม่ควรใช้วิธีนี้กับตารางซึ่งมีสูตร
- ใช้คำสั่ง Data > Filter > AutoFilter เพื่อกรองหาข้อมูลซึ่งตรงตามเงื่อนไขการกรอง
- ใช้คำสั่ง Data > Filter > Advanced Filter เพื่อดึงข้อมูลตามเงื่อนไข ออกไปสรุปในอีกตารางหนึ่ง
- ใช้คำสั่ง Data > Pivot Table and Pivot Chart Report สรุปตัวเลขที่ต้องสงสัย
- ใช้คำสั่ง Tools > Auditing หรือ Formula Auditing ลากเส้นเชื่อมโยงเซลล์ที่ไปที่มาของค่าผิดปกติ
- สร้างกราฟซึ่งมีเส้นกำกับระดับมาตรฐาน ใช้เป็นมาตรวัดว่าเส้นใดมีค่าสูงหรือต่ำกว่าเส้นมาตรฐาน
วิธีสร้างตารางเปรียบเทียบ หรืองบเปรียบเทียบ
วิถีการดำเนินธุรกิจย่อมอาศัยการเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลา ไหนเลยจะรู้ว่ากำไร ขาดทุน สูงกว่า ต่ำกว่า หากขาดการนำต้นทุนมาเทียบกับรายได้ หรือนำค่าใช้จ่ายแต่ละตัวมาเปรียบเทียบกัน หรือใช้ค่าใช้จ่ายตัวเดียวกัน แต่ต่างเวลานำมาเปรียบเทียบกัน
เครื่องมือของ Excel ซึ่งใช้สนับสนุนการเปรียบเทียบในลักษณะตาราง มีดังนี้
- ใช้คำสั่ง View > Custom View เพื่อเรียกดูตารางตามแบบที่ตั้งชื่อไว้
- ใช้คำสั่ง Data > Group and Outline จัดระดับการแสดงผลหรือซ่อน Row / Column แล้วเปิดใช้ตามระดับการซ่อน
- ใช้สูตร Lookup ดึงข้อมูลมาเปรียบเทียบ ตัวอย่างนี้ใช้สูตร Offset โดยผู้ใช้สามารถคลิกเลือกปีที่ 2 หรือปีใดก็ได้นำมาเปรียบเทียบกัน โดยคลิกเปลี่ยนปีในเซลล์ E5:F5
- ใช้สูตร Offset หายอดรวมตัวเลขจากระยะเวลาที่ต้องการ นำมาเปรียบเทียบกัน
- ใช้ Cell Picture Link โดยสั่ง Copy ตารางที่ต้องการ แล้วกด Shift พร้อมกับคลิกเมนูสั่ง Edit > Paste Picture Link จะเกิดรูปภาพของตารางพร้อมกับมีสูตร Link กลับไปยังตารางต้นทางให้ทันที หากต้องการสร้าง Cell Picture Link บนกราฟ ต้องใช้อีกวิธีหนึ่ง เริ่มจากกด Shift แล้วคลิกเลือกเมนู Edit > Copy Picture จากนั้นจึงนำไปสั่ง Paste ตามปกติลงในหน้ากราฟ แล้วให้สร้างสูตร Link จาก Cell Picture กลับมายังตารางต้นทางอีกขั้นหนึ่ง
วิธีปรับแต่งกราฟให้ได้ดังใจ
กราฟหรือ Chart ของ Excel มีความพิเศษสุดเหนือกว่ากราฟซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมอื่น ตรงที่กราฟของ Excel เกิดขึ้นจากการใช้สูตร Series จึงช่วยให้ผู้ที่ใช้สูตรเป็น สามารถแก้ไขที่ตัวสูตรเพื่อทำให้รูปกราฟปรับเปลี่ยนตามในทันที
=Series(ชื่อเส้น,ค่าแกนนอน,ค่าแกนตั้ง,เลขที่เส้น)
เราสามารถเลื่อนค่าซึ่งนำแสดงบนกราฟได้ 2 แบบ คือ
- แบบใช้ตาราง Template ดึงค่าช่วงที่ต้องการนำมาแสดงในตาราง Template นี้ จากนั้นจึงใช้ตารางนี้สร้างกราฟขึ้น เมื่อใดที่ค่าภายในตาราง Template เปลี่ยนแปลง จากการคำนวณใหม่หรือใช้ Input Form ส่งค่าใหม่ลงไปใน Template จะส่งผลให้รูปเส้นกราฟเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
- แบบใช้ Dynamic Formula Name ใช้สูตร Offset เคลื่อนย้ายตำแหน่ง แล้วตั้งชื่อให้กับสูตรนี้ผ่านเมนู Insert > Name > Define จากนั้นจึงนำชื่อมาพิมพ์ทับตำแหน่งที่ใช้บนสูตร โดยให้พิมพ์ทับเฉพาะส่วนของตำแหน่งเซลล์อ้างอิง ไม่ต้องทับส่วนของชื่อ Sheet! และจะเห็นว่าสูตร Series ยอมรับชื่อนั้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ Sheet เป็นชื่อ File ให้เห็นในสูตร Series
- Formula Name ชื่อ XValue =OFFSET(Ref,From,0,Interval,1)
- Formula Name ชื่อ YValue =OFFSET(Ref,From,1,Interval,1)
- Ref เป็นตำแหน่งเซลล์อ้างอิง ให้นับ 0 จากตำแหน่งนี้
- From คือ จำนวน Row ถัดไปจากตำแหน่ง Ref ถือเป็นตำแหน่งค่าเริ่มต้นของเส้นกราฟ
- Interval คือ ความสูงหรือจำนวน Row ที่นำไปใช้บนกราฟ ช่วยให้เส้นกราฟยืดหรือหดตามต้องการ
เคล็ดการปรับแต่งกราฟ
- ปุ่ม Chart Wizard จะสร้างกราฟได้ง่ายขึ้น หากจัดเตรียมตารางข้อมูลซึ่งจะนำมาสร้างกราฟให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น ถ้ากราฟที่ต้องการสร้างนั้นเป็นกราฟแบบ XY และมีเส้นกราฟ 3 เส้น ให้จัดเตรียมตารางไว้ก่อน ดังนี้
- หัวตาราง Row บนสุดเป็นชื่อเส้น
- Column ซ้ายสุด เป็นค่าบนแกน X
- Column ถัดมาทางขวาอีก 3 Column เป็นค่าของเส้นที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ
- ถ้าต้องการเพิ่มเส้นบนกราฟทีหลัง ให้จัดเตรียมตารางเหมือนข้อแรก จากนั้นให้ Copy ตาราง แล้วนำมา Paste Special ลงบนกราฟแบบ New Series แต่ถ้ากราฟซ้อนอยู่หน้าเดียวกับตาราง จะเลือกใช้วิธีลากมาปล่อยลงในกราฟก็ได้
- แทบทุกจุดหรือ Object บนกราฟ สามารถสร้างสูตร Link นำค่าจากตารางส่งต่อมาแสดงได้ด้วย ขอให้คลิกซ้าย แล้วคลิกซ้ายซ้ำอีกทีที่จุดนั้น พอกลายเป็นกล่อง ให้คลิกต่อบน Formula Bar พิมพ์เครื่องหมาย = แล้วคลิกไปเลือกเซลล์ข้อมูลในตารางใดก็ได้ซึ่งต้องการส่งค่ามา
- หากต้องการสร้างกราฟ 2 รูปซ้อนกันในหน้าเดียว ให้สร้างกราฟ 2 รูป แยกเป็น Chart Sheet ต่างหาก จากนั้นคลิกขวาลงในกราฟ สั่ง Location > As object in แล้วเลือกชื่อ Chart Sheet
- หากต้องการกลับข้างของกราฟระหว่างแกนนอนและแกนตั้ง ให้คลิกเปลี่ยนตำแหน่งอ้างอิงแต่ละสูตรให้สลับกัน จากตำแหน่งค่า X ให้เป็น Y และจากเดิม Y ให้เป็น X ต่อเมื่อแก้ไขครบทุกเส้นแล้วจึงจะเห็นว่ากราฟปรับแกนให้ตามต้องการ
- ถ้าต้องการสร้างเส้นพยากรณ์หรือเส้นแนวโน้ม ให้คลิกขวาลงบนเส้นกราฟ แล้วสั่ง Add Trendline
- กราฟเส้นและกราฟแท่งแบบ 2 มิติ สามารถใช้วิธีคลิกซ้าย ตามด้วยคลิกซ้าย เพื่อกำหนดตำแหน่งจุดนั้นบนเส้นกราฟ หรือยอดของแท่งกราฟ จากนั้นจะเห็นว่ามีรูปเครื่องหมายชี้ขึ้นบนล่างปรากฏขึ้น ให้คลิกแล้วลากขึ้นลงตามต้องการ จะทำให้เส้นกราฟปรับตำแหน่งให้เองและส่งผลกลับไปปรับตัวเลขในตารางด้วย
การจัดเตรียมก่อนนำเสนอผลงาน
งานซึ่งสร้างเสร็จแล้ว ควรปรับแต่งให้สวยงาน พร้อมกับตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกให้ดูเหมือนกับกระดาษ มองดูผาดๆแล้วนึกไม่ถึงว่าเป็นตาราง Excel
- ตัด Gridlines ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Gridlines
- ตัดชื่อหัวตารางและเลขกำกับ Row ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Row and column headers
- ตัดแท่ง Scroll bar ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Horizontal / Vertical Scroll bar
- ตัด Sheet tabs ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Sheet tabs
- ปรับหน้าจอให้ขยายกว้างที่สุด โดยสั่ง View > Full Screen
- ตั้งชื่อพื้นที่ตารางซึ่งต้องการสั่งพิมพ์ แล้วนำชื่อมาใส่ลงในช่อง Print Area พิมพ์แต่ละชื่อคั่นด้วยเครื่องหมาย Comma , ซึ่งจะถูกพิมพ์เรียงลำดับทีละหน้าตามที่เรียงชื่อไว้
- ปรับสีที่ใช้พิมพ์ให้ใช้สีขาวและดำเท่านั้น โดยสั่ง File > Page Setup > Sheet > กาช่อง Black and white
- ลบชื่อ Range Name ซึ่งไม่ได้ใช้งานทิ้ง โดยสั่ง Delete ชื่อจากเมนูคำสั่ง Insert > Name > Define
- บันทึกรายละเอียดของแฟ้ม โดยสั่ง File > Properties หรือบันทึกคำอธิบายลงไปในเซลล์ โดยคลิกขวาลงไปในเซลล์ แล้วสั่ง Insert Comment หรือจัดทำคู่มืออธิบายการใช้งานประกอบแฟ้ม
- ใส่รหัสป้องกันการแก้ไข โดยสั่ง Tools > Protection > Protect Sheet / Workbook
- ใช้ Macro Recorder โดยสั่ง Tools > Macro > Record new macro ช่วยในการปรับการแสดงผลและช่วยนำเสนอผลงานอย่างอัตโนมัติ
- ควรจัดทำแฟ้มสำเนา Backup แยกเก็บไว้ต่างหาก
ตอบ รูปแบบการนำเสนอผลงาน
การนำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. บทความวิจัย นำเสนอผลงาน 2 แบบ คือ
• นำเสนอแบบบรรยาย ใช้เวลาเรื่องละ 15 นาที ซักถาม 5 นาที
• การนำเสนอแบบโปสเตอร์
2. บทความวิชาการ สำหรับเรื่องที่ได้รับคะแนนระดับดีมากจะได้รับคัดเลือกให้นำเสนอแบบบรรยาย
โดยใช้เวลาในการนำเสนอเรื่องละ 15 นาที ซักถาม 5 นาที
ขอบเขตของผลงาน
1. บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาต่อไปนี้
• วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
• บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
• การศึกษาและการเรียนการสอน
• การวิเคราะห์ภาพอนาคตของประชาคมอาเซียน
2. บทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ
• การวิเคราะห์ภาพอนาคตของประชาคมอาเซียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น